วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงที่ชอบ

เพลงที่ชอบ

อยากมีคนจับมือคอยปลอบโยนเมื่อร­้อนใจ วันที่ท้อก็อยากมีคนให้ซบไหล่
ค่ำคืนเหน็บหนาวจะกอดเอาไว้แนบก­าย กุมมือเธอไว้คงอุ่นไปทั้งหัวใจ                    
 รอเพียงใครคนนั้น จะผ่านเข้ามา รอเพียงวันการค้นหาของฉันถึงจุด­หมาย
 รอเพียงคนสุดท้ายที่ฉันจะยอมมอบ­ทั้งใจ รอเพียงใครคนนั้นที่ฉันจะรักตลอ­ดไป

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข่าว it



ชาววินโดวส์ 8 (Windows 8) เตรียมตัวดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่ Windows 8.1 ไปใช้งานได้ฟรีในวันที่ 17 ตุลาคมนี้
       ใครที่ใช้แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 (Windows 8) เตรียมตัวนับถอยหลังดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่ Windows 8.1 ไปใช้งานในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยไมโครซอฟท์ระบุในบล็อกบริษัทว่าจะเปิดให้อัปเดตฟรี โดยหลังจากวันที่ 17 ตุลาคมแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะถูกจำหน่ายพร้อมระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่แบบอัตโนมัติ
       
       Windows 8.1 นั้นเป็นเวอร์ชันปรับปรุงที่ต่อยอดจาก Windows 8 ระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตลาดเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา แม้จะยังไม่มีใครทราบถึงความสามารถที่แน่นอน แต่ Windows 8.1 ถูกมองว่าจะสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าให้ผู้ใช้ Windows 8 โดยเฉพาะในแง่การใช้งานควบคู่ระหว่างคอมพิวเตอร์พีซีกับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพกพา ซึ่งเป็นจุดขายหลักของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันนี้
       
       กำหนดการโชว์ตัว Windows 8.1 นี้สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของทามิ เรลเลอร์ (Tami Reller) ประธานฝ่ายการเงินและประธานฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ ที่ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า Windows 8.1 จะเปิดตัวสู่ตลาดภายในปีนี้เพื่อตอบสนองเสียงตอบรับของลูกค้าที่ไมโครซอฟท์ได้รับจากการเปิดตัว Windows 8 ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์สามารถจำหน่ายสิทธิการใช้บริการ Windows 8 ได้เกิน 100 ล้านไลเซนส์แล้วอย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าไมโครซอฟท์ได้รับแรงกดดันให้ปรับปรุงความสามารถ Windows 8 เนื่องจากอัตราเติบโตการใช้งาน Windows 8 นั้นไม่หวือหวาเท่าที่ควร ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนรูปแบบหน้าตาโปรแกรมให้รองรับระบบสัมผัสหน้าจอมากขึ้น โดยการปรับปรุงบริการตามคำติชมที่ได้รับนั้นจะช่วยให้ยอดขายไลเซนส์ Windows 8 เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (parity bit)

บิตตรวจสอบ


ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 
1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์
สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ


1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
  การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity) จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

  การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity) จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้
ข้อเสีย
การใช้ Parity bit คือ เสียเวลา และไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนัก เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าผิดที่ตำแหน่งตรงไหน และแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ได้ บอกได้แค่เพียงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเท่านั้น และ ถ้าสมมติข้อมูลเกิดผิดพลาดทีเดียว 2 บิต เช่น 10001001 เปลี่ยนเป็น 10101011 เราก็ไม่สามารถเช็คข้อผิดพลาดโดยใช้วิธี Parity ได้

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII             
          American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่น รหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 
แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้
สัญลักษณ์
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานสิบหก
A
65
100 0001
4 1

รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท

ตารางรหัส ASCII แทนตัวอักษร


Unicode

        ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดยUnicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม 
เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด Unicode ต่างจาก ASCII คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น



SAYUMPHOOL CHAILANGKA
01010011 01000001 01011001 01010101 01001101 01010000 1011000 01001111 01001111 01001100 01000000 01000011 01011000 01000011 01011000 01000001 01001001 01001100 01000001 01001110 01000111 01001011 01000001

ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 184 bit 20 byte




วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

 

คอมพิวเตอร์ยุคที่  2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่  3คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย  ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่  4
  คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

คอมพิวเตอร์ยุคที่  5
 
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง



ใบงานที่ 1 ประวัติคอมพิวเตอร์


charles  babbage     ชาลส์ แบบเบจ
ปี 1822 ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ได้ทำการออกแบบเครื่อง Difference Engine โดยได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาล แต่เครื่อง Difference Engine นี้สร้างไม่เสร็จ เพราะแบบเบจได้ค้นพบความไม่น่าเชื่อถือบางประการในการคำนวณ จึงล้มเลิก และไปคิดเครื่องใหม่ที่ชื่อว่า Analytical Engine ซึ่งประกอบด้วยหน่วยความจำ (Memory Unit) ที่สามารถจัดเก็บตัวเลขและนำไปคำนวณได้
ยิ่งไปกว่านั้น เครื่องดังกล่าวยังสามารถพิมพ์ข้อมูลได้อัตโนมัติ สามารถนำเข้าข้อมูลด้วยบัตรเจาะรู (Punched Cards) และใช้ชุดคำสั่งในการควบคุม เครื่อง Analytical Engine นี้ยังมีฟังก์ชั่นหน้าที่หลายอย่างเช่นเดียวกับคอมพิวเตอร์ในยุคปัจจุบัน ทำให้ ชาลส์ แบบเบจ (Charles Babbage) ถูกขนานนามให้เป็นบิดาแห่งคอมพิวเตอร์ เป็นต้นมา





lady augusta ada byron
Ada Lovelace ศึกษาด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ และได้รู้จักกับ ชาร์ลส แบบเบจ ในงานสังสรรค์แห่งหนึ่ง เธอได้ใช้ความรู้ความสามารถในการสร้างภาษาสำหรับเครื่องวิเคราะห์ (analytical engine) ของชาร์ลส แบบเบจ    เอดาได้แนะนำแบบเบจให้ลองเขียนแผนผังการทำงาน ของเครื่องมืออันนี้ให้สามารถคำนวณ Bernoulli numbers ขึ้นมา ต่อมาแผนการทำงานที่แบบเบจเขียนนั้นได้ถูกยกย่องว่าเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์แรกของโลก เธอจึงได้รับการยกย่องว่าเป็นโปรแกรมเมอร์คนแรกของโลก
ต่อมาไม่นานสุขภาพของเธอก็เริ่มมีปัญหาและก็เสียชีวิตด้วยวัยเพียง 37 ปีเท่านั้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) กระทรวงกลาโหมสหรัฐฯก็ได้สร้างภาษาคอมพิวเตอร์มาตรฐาน ISO ขึ้นมาตัวแรก และได้ตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่ Ada Lovelace ว่า ภาษา “ADA”


herman  hollerith
ค.ศ. 1884 : ดร.เฮอร์มาน ฮอลเลอริธ (Dr.Herman Hollerith) นักสถิติชาวอเมริกัน เป็นผู้คิดประดิษฐ์บัตรเจาะรูสำหรับเก็บข้อมูล โดยได้แนวคิดจากบัตรควบคุมการทอผ้าของ Jacquard และวิธีการหนีบตั๋วรถไฟของเจ้าหน้าที่รถไฟ นำมาดัดแปลงและประดิษฐ์เป็นบัตรเก็บข้อมูลขึ้น และทำการสร้างเครื่องคำนวณไฟฟ้าที่สามารถอ่านบัตรที่เจาะได้ ทำให้สามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและประหยัดค่าใช้จ่ายได้มาก
           เมื่อปี ค.ศ. 1880 สำนักงานสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐอเมริการได้ทำการสำรวจสำมะโนประชากรโดยใช้แรงงานคนในการประมวลผล ต้องใช้เวลาถึง 7 ปีครึ่งยังไม่แล้วเสร็จ ข้อมูลที่ได้ไม่แน่นอนและไม่ค่อยถูกต้อง ต่อมา ค.ศ. 1890 สำนักงานฯ จึงได้ว่าจ้าง ฮอลเลอริธ มาทำการประมวลผลการสำรวจ ปรากฏว่าเมื่อใช้เครื่องทำตารางข้อมูล (Tabulating machine) และหีบเรียงบัตร (Sorting) ของฮอลเลอริธแล้ว ใช้เวลาในการประมวลผลลดลงถึง 3 ปี
           ค.ศ. 1896 : ฮอลเลอริธ ได้ตั้งบริษัทผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์การประมวลผลด้วยบัตรเจาะรู และต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทไอบีเอ็ม (International Business Machines Corporation) ในปี ค.ศ. 1924
alan turing
Alan Turing เกิดวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เขาเป็น นักคณิตศาสตร์, นักตรรกศาสตร์, นักรหัสวิทยา และวีรบุรุษสงคราม ชาวอังกฤษ และ ได้รับการยอมรับว่าเป็นบิดาของวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นสร้างรูปแบบที่เป็นทางการทางคณิตศาสตร์ของการระบุอัลกอริทึมและการคำนวณ โดยใช้เครื่องจักรทัวริง ซึ่งตามข้อปัญหาเชิร์ช-ทัวริงได้กล่าวว่าเป็นรูปแบบของเครื่องจักรคำนวณเชิงกลที่ครอบคลุมทุกๆ รูปแบบที่เป็นไปได้ในทางปฏิบัติ เขาได้มีส่วนสำคัญในการแกะรหัสลับของฝ่ายเยอรมันในช่วงสงครามโลกครั้งที่สองด้วย โดยเขาเป็นหัวหน้าของกลุ่ม Hut 8 ที่ทำหน้าที่ในการแกะรหัสของเครื่องอีนิกมาที่ใช้ในฝ่ายทหารเรือ ภายหลังจากสงครามจบลง เขาจึงได้ออกแบบเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถโปรแกรมได้ เครื่องแรกๆ ของโลก ที่ห้องปฏิบัติการฟิสิกส์แห่งชาติ และได้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ขึ้นจริงๆ ที่มหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ รางวัลทัวริงถูกก่อตั้งขึ้นเพื่อยกย่องเขาในเรื่องนี้ นับว่าเขเป็นคนสำคัญที่ทำให้เรามีคอมพิวเตอร์ใช้ในทุกวันนี้ และ Alan Turing ก็ได้เสียชีวิต ในวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2497 (ค.ศ. 1954)  เมื่อชันสูตรพลิกศพาพบว่าเขาได้ตายก่อนหน้านี้หนึ่งวันคือ วันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2497 โดยตายด้วยสาเหตุ ร่างกายได้รับพิษไซยาไนด์ ก็คือเขาได้ฆ่าตัวตาย โดยอายุ 41 ปีเท่านั้นเอง

Konrad Zuse


 ค.ศ. 1936 เป็นครั้งแรกที่โลกได้มีเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกที่สามารถตั้งโปรแกรมได้อย่างอิสระ ผู้พัฒนาคือ Konrad Zuse และชื่อคอมพิวเตอร์คือ Z1 Computer
 


Prof. Howard H. Aiken
ในปี ค.ศ.1939 Dr. Howard H. Aiken จาก Harvard University ได้ร่วมมือกับบริษัท IBM ออกแบบคอมพิวเตอร์โดยใช้ทฤษฎีของ Babbage และในปี ค.ศ.1944 Harvard mark I ก็ได้ถือกำเนิดขึ้นเป็นคอมพิวเตอร์เครื่องแรก ซึ่งมีขนาดยาว 5 ฟุต ใช้พลังงานไฟฟ้าและใช้ relay แทนเฟือง แต่ยังทำงานได้ช้าคือใช้เวลาประมาณ 3-5 วินาทีสำหรับการคูณ

DR.  John V. atanasoff & clifford berry
ได้สร้างเครื่อง ABC ( Atanasoft-Berry Computer ) โดยใช้หลอดสูญญากาศ ( vacuum tubes)

Dr.John W. Mauchly & J. Presper Eckert

และในปี พ.ศ. 2483 Dr.John W. Mauchy และ J. Presper Eckert Jr. พัฒนาเพิ่มเติมบนหลักการออกแบบพื้นฐานของ Dr. Atanasoff เพื่อสร้าง electronic computer เครื่องแรกชื่อ ENIAC แต่ยังไม่เป็นคอมพิวเตอร์ชนิดเก็บโปรแกรมได้ ( stored program ) จึงได้รับการพัฒนาเป็นเครื่อง EDVAC ซึ่งอาศัยหลักการ stored program สมบูรณ์และได้มีการพัฒนาเป็นเครื่อง EDSAC และพัฒนาเป็นเครื่อง UNIVAC ( Universal Automatic Computer ) ในที่สุด

Dr.John Von Neumann
ได้พบวิธีการเก็บโปรแกรมไว้ ในหน่วยความจำของเครื่อเช่นเดียวกับการเก็บข้อมูลและต่อวงจรไฟฟ้า สำหรับการคำนวณ และการปฏิบัติการพื้นฐาน ไว้ให้เรียบร้อยภายในเครื่อง แล้วเรียกวงจรเหล่านี้ด้วยรหัสตัวเลขที่กำหนดไว้ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นตาม
แนวความคิดนี้ได้แก่ EVAC (Electronic Ddiscreate Variable Automatic Computer) ซึ่งสร้างเสร็จใน พ.ศ. 2492 และนำมาใช้งานจริงในปี พ.ศ. 2494 และในเวลาใกล้เคียงกัน ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดส์ ประเทศอังกฤษ ได้มีการสร้างคอมพิวเตอร์มีลักษณะคล้ายกับเครื่อง EVAC และให้ชื่อว่า EDSAC (Electronic Delay Strorage Automatic Caculator)

Dr. ted hoff
ดร. เท็ด ฮอฟฟ์ (Ted Hoff)  ได้พัฒนาชิพที่มีขนาดเล็กมาก จึงได้ชื่อว่าไมโครโพรเซสเซอร์ ชื่อรุ่นคือ Intel 4004 เป็นหน่วยประมวลผลขนาดเล็กที่สามารถโปรแกรมได้ คอมพิวเตอร์ที่ใช้ชิพขนาดเล็กนี้เจึงถูกรียกว่าไมโครคอมพิวเตอร์

Steve Jobs & Steve Wazniak
 ได้สร้างแอปเปิ้ลคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องแรก ภายใต้ชื่อว่า Apple  ll และได้รับการตอบรับถึงความสำเร็จอย่างรวดเร็วทั่วโลก

 Bill Gates
ลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สาม (เกิด 28 ตุลาคม ค.ศ. 1955) หรือที่มักเป็นที่รู้จักในชื่อ บิล เกตส์ เป็นนักธุรกิจชาวอเมริกัน และหนึ่งในผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ เขากับผู้บุกเบิกด้านคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลคนอื่น ๆ ได้ร่วมกันเขียนต้นแบบของภาษาอัลแตร์เบสิก ซึ่งเป็นอินเตอร์เพรเตอร์สำหรับเครื่องอัลแตร์ 8800 (เครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลในยุคแรกๆ) เขาได้ร่วมกับพอล แอลเลน ก่อตั้งไมโครซอฟท์ คอร์ปอเรชันขึ้น ซึ่งในขณะนี้เขาดำรงตำแหน่งประธานคณะกรรมการบริหาร และหัวหน้าสถาปนิกซอฟต์แวร์ นิตยสารฟอบส์ได้จัดอันดับให้ บิล เกตส์ เป็นบุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกหลายปีติดต่อกัน
วิลเลียม เฮนรี เกตส์ ที่สามได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการอัศวินแห่งจักรวรรดิบริเตน (KBE) จากสมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2






 






วันจันทร์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2556

สถานที่ท่องเที่ยว จ.เชียงราย

ยินดีต้อนรับเข้าสู่สถานที่ท่องเที่ยว จ.เชียงราย
                                                                 
                                                                   พ่อขุนเม็งราย

อยู่ที่ห้าแยกพ่อขุน พ่อขุนเม็งรายเป็นกษัตริย์องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลัวะจังคราช เป็นโอรสของพญาลาวเม็ง และพระนางเทพคำขยาย หรือพระนางอั้วมิ่งจอมเมือง ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ แรม 9 ค่ำ เดือนอ้าย ปีกุน พุทธศักราช 1782 เสด็จสวรรคตที่เมืองเชียงใหม่ใน พ.ศ.1854 พ่อขุนเม็งรายได้สร้างเมืองเชียงรายขึ้นบนดอยทอง จากรากฐานเดิมที่เคยเป็นเมืองมาก่อน เมื่อ พ.ศ.1805 ทรงเป็นปฐมกษัตริย์ แห่งราชวงศ์เม็งราย และรวบรวมบ้านเล็กเมืองน้อยเข้าเป็นอาณาจักรล้านนาไทยจนเจริญรุ่งเรืองถึงปัจจุบัน  กู่พระเจ้าเม็งราย ตั้งอยู่หน้าวัดงำเมือง บนดอยงำเมือง กู่นี้เป็นอนุสาวรีย์สำคัญแห่งหนึ่ง เพราะเป็นที่บรรจุอัฐิของพ่อขุนเม็งรายมหาราช ตามประวัติกล่าวว่าพระเจ้าไชยสงคราม ราชโอรสพระเจ้าเม็งราย เมื่อได้มอบราชสมบัติให้พระเจ้าแสนภูราชโอรสขึ้นครองนครเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้นำอัฐิพระราชบิดามาประทับอยู่ที่เมืองเชียงราย และได้โปรดเกล้าฯ สร้างกู่บรรจุอัฐิของพระราชบิดาไว้ ณ ดอยงำ

พระตำหนักดอยตุง



พระตำหนักดอยตุง ตั้งอยู่ในเขตอำเภอแม่ฟ้าหลวง ห่างจากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 60 กิโลเมตร พระตำหนักดอยตุงเคยเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานเพื่อทรงงานของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี มีรูปทรงผสมผสานระหว่างศิลปะล้านนากับชาเลย์ของประเทศสวิสเซอร์แลนด์ มีการแกะสลักไม้ตามกาแล เชิงชายและขอบหน้าต่างเป็นลวดลายต่าง ๆ โดยฝีมือช่างชาวเหนือ


วัดร่องขุ่น



วัดร่องขุ่น อยู่ที่ตำบลป่าอ้อดอนชัย ออกแบบและก่อสร้างโดยอาจารย์เฉลิมชัย  โฆษิตพิพัฒน์ เมื่อ พ.ศ. 2540 โดย บนพื้นที่เดิมของวัด 3 ไร่ และขยายออกเป็น 12 ไร่ พระอุโบสถสีขาวตกแต่งด้วยลวดลายกระจกสีเงินแวววาว เป็นเชิงชั้นลดหลั่นกันไป หน้าบันประดับด้วยพญานาค ภาพจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถและห้องแสดงภาพวาดน่าสนใจมาก เปิดให้เข้าชมทุกวัน เวลา 08.00-17.00 น.

                                                                             ภูชี้ฟ้า
                                                                        


"ภูชี้ฟ้า" ตั้งอยู่บนเทือกเขาสูงทางตะวันออกของจังหวัดเชียงราย อยู่ระหว่างรอยตะเข็บชายแดนไทย – ลาว ลักษณะเป็นหน้าผาสูงเป็นแนวยาวไปตามแนวชายแดน บริเวณปลายสุดของหน้าผามีลักษณะแหลมคล้ายกับนิ้วมือชี้ยื่นออกไปในอากาศ จึงเป็นที่มาของชื่อ "ภูชี้ฟ้า" จุดที่สูงสุดของภูชี้ฟ้าอยู่สูงจากระดับน้ำทะเลปานกลาง ๑,๒๐๐ ถึง ๑,๖๒๘ เมตร เบื้องล่างของหน้าผาเป็นแอ่งหุบเขา เป็นที่ตั้งของหมู่บ้านเชียงตอง แขวงไชยบุรี ประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว


                                                                      น้ำตกขุนกรณ์


น้ำตกขุนกรณ์
     อยู่บนเทือกเขาดอยช้าง ต.แม่กรณ์ ห่างจากตัวเมืองตามทางหลวงหมายเลข1211 ประมาณ 18 กม. เลี้ยวขวาเข้าไป 12 กม. หรือไปตามทางหลวงหมายเลข1 สายเชียงราย-พะเยา ประมาณ 15 กม. จะมีป้ายแยกขวาไปอีก 17 กม. ถึงที่ทำการวนอุทยานฯ แล้วเดินเท้าไปยังตัวน้ำตกอีกประมาณ 30 นาที น้ำตกขุนกรณ์เป็นน้ำตกที่สูงและสวยที่สุดของจังหวัดเชียงราย ชาวบ้านเรียกว่า "น้ำตกตาดหมอก" มีความสูงถึง 70 ม.สองข้างทางที่เดินเข้าสู่ตัวน้ำตกเป็นป่าเขาธรรมชาติร่มรื่น