วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

เพลงที่ชอบ

เพลงที่ชอบ

อยากมีคนจับมือคอยปลอบโยนเมื่อร­้อนใจ วันที่ท้อก็อยากมีคนให้ซบไหล่
ค่ำคืนเหน็บหนาวจะกอดเอาไว้แนบก­าย กุมมือเธอไว้คงอุ่นไปทั้งหัวใจ                    
 รอเพียงใครคนนั้น จะผ่านเข้ามา รอเพียงวันการค้นหาของฉันถึงจุด­หมาย
 รอเพียงคนสุดท้ายที่ฉันจะยอมมอบ­ทั้งใจ รอเพียงใครคนนั้นที่ฉันจะรักตลอ­ดไป

วันอาทิตย์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ข่าว it



ชาววินโดวส์ 8 (Windows 8) เตรียมตัวดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่ Windows 8.1 ไปใช้งานได้ฟรีในวันที่ 17 ตุลาคมนี้
       ใครที่ใช้แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ 8 (Windows 8) เตรียมตัวนับถอยหลังดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่ Windows 8.1 ไปใช้งานในวันที่ 17 ตุลาคมนี้ โดยไมโครซอฟท์ระบุในบล็อกบริษัทว่าจะเปิดให้อัปเดตฟรี โดยหลังจากวันที่ 17 ตุลาคมแท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ระบบปฏิบัติการวินโดวส์จะถูกจำหน่ายพร้อมระบบปฏิบัติการเวอร์ชันใหม่แบบอัตโนมัติ
       
       Windows 8.1 นั้นเป็นเวอร์ชันปรับปรุงที่ต่อยอดจาก Windows 8 ระบบปฏิบัติการที่ไมโครซอฟท์เพิ่งเปิดตลาดเมื่อปี 2012 ที่ผ่านมา แม้จะยังไม่มีใครทราบถึงความสามารถที่แน่นอน แต่ Windows 8.1 ถูกมองว่าจะสร้างประสบการณ์ใหม่ที่ดีกว่าให้ผู้ใช้ Windows 8 โดยเฉพาะในแง่การใช้งานควบคู่ระหว่างคอมพิวเตอร์พีซีกับอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตพกพา ซึ่งเป็นจุดขายหลักของระบบปฏิบัติการวินโดวส์เวอร์ชันนี้
       
       กำหนดการโชว์ตัว Windows 8.1 นี้สอดคล้องกับคำให้สัมภาษณ์ของทามิ เรลเลอร์ (Tami Reller) ประธานฝ่ายการเงินและประธานฝ่ายการตลาดของไมโครซอฟท์ ที่ประกาศอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า Windows 8.1 จะเปิดตัวสู่ตลาดภายในปีนี้เพื่อตอบสนองเสียงตอบรับของลูกค้าที่ไมโครซอฟท์ได้รับจากการเปิดตัว Windows 8 ซึ่งล่าสุดไมโครซอฟท์สามารถจำหน่ายสิทธิการใช้บริการ Windows 8 ได้เกิน 100 ล้านไลเซนส์แล้วอย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์เชื่อว่าไมโครซอฟท์ได้รับแรงกดดันให้ปรับปรุงความสามารถ Windows 8 เนื่องจากอัตราเติบโตการใช้งาน Windows 8 นั้นไม่หวือหวาเท่าที่ควร ซึ่งเป็นผลจากการเปลี่ยนรูปแบบหน้าตาโปรแกรมให้รองรับระบบสัมผัสหน้าจอมากขึ้น โดยการปรับปรุงบริการตามคำติชมที่ได้รับนั้นจะช่วยให้ยอดขายไลเซนส์ Windows 8 เพิ่มขึ้นไม่มากก็น้อย

วันจันทร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

บิตตรวจสอบ (parity bit)

บิตตรวจสอบ


ถึงแม้เลขฐานสองที่ใช้ในคอมพิวเตอร์มีอัตราความผิดพลาดต่ำ เพราะมีค่าความเป็นไปได้เพียง 0 หรือ 
1 เท่านั้น แต่ก็อาจเกิดข้อบกพร่องขึ้นได้ภายในหน่วยความจำ ดังนั้น บิตตรวจสอบ หรือพาริตี้บิต จึงเป็นบิตที่เพิ่มเติมเข้ามาต่อท้ายอีก 1 บิต ซึ่งถือเป็นบิตพิเศษที่ใช้สำหรับตรวจสอบความแม่นยำและความถูกต้องของข้อมูลที่จะถูกจัดเก็บลงในคอมพิวเตอร์
สำหรับบิตตรวจสอบ จะมีวิธีตรวจสอบอยู่ 2 วิธีด้วยกัน คือ


1. การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity)
  การตรวจสอบบิตภาวะคู่ (Even Parity) จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคี่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคู่ เมื่อรวมกับบิตนี้)
การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity)

  การตรวจสอบบิตภาวะคี่ (Odd Parity) จะมีค่าเป็น 1 เมื่อจำนวนของเลข 1 ในข้อมูลเป็นจำนวนคู่ (ซึ่งจะทำให้จำนวนเลข 1 ทั้งหมดเป็นจำนวนคี่ เมื่อรวมกับบิตนี้
ข้อเสีย
การใช้ Parity bit คือ เสียเวลา และไม่ได้ประโยชน์เท่าไรนัก เพราะไม่สามารถบอกได้ว่าผิดที่ตำแหน่งตรงไหน และแก้ไขข้อผิดพลาดไม่ได้ บอกได้แค่เพียงว่ามีความผิดพลาดเกิดขึ้นเท่านั้น และ ถ้าสมมติข้อมูลเกิดผิดพลาดทีเดียว 2 บิต เช่น 10001001 เปลี่ยนเป็น 10101011 เราก็ไม่สามารถเช็คข้อผิดพลาดโดยใช้วิธี Parity ได้

รหัสแทนข้อมูล รหัส ASCII และ รหัส Unicode

รหัสที่เป็นมาตรฐาน คือ รหัส ASCII             
          American Standard Code For Information Interchange (ASCII) อ่านว่า แอส-กี้ เป็นรหัสที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันมาตรฐานแห่งชาติสหรัฐอเมริกา (American National Standard Institute: ANSI อ่านว่า แอน-ซาย) เรียกว่า ASCII Code ซึ่งเป็นที่นิยมในกลุ่มผู้สร้างเครื่องคอมพิวเตอร์ทั่วไป รหัสนี้ได้มาจากรหัสขององค์กรมาตรฐานระหว่างประเทศ (International Standardization Organization: ISO) ขนาด 7 บิท ซึ่งสามารถสร้างรหัสที่แตกต่างกันได้ถึง 128 รหัส (ตั้งแต่ 000 0000 ถึง 111 1111) โดยกำหนดให้ 32 รหัสแรกเป็น 000 0000 ถึง 001 1111 ทำหน้าที่เป็นสั่งควบคุม เช่น รหัส 000 1010 แทนการเลื่อนบรรทัด (Line Feed)ในเครื่องพิมพ์ เป็นต้น และอีก 96รหัสถัดไป (32-95) ใช้แทนอักษรและสัญลักษณ์พิเศษอื่น รหัส ASCII ใช้วิธีการกำหนดการแทนรหัสเป็นเลขฐานสิบ ทำให้ง่ายต่อการจำและใช้งาน นอกจากนั้นยังสามารถเขียนมนรูปของเลขฐานสิบหกได้ด้วย ดังนั้น ASCII Code จึงเป็นรหัสที่เขียนได้ 
แบบ เช่นอักษร A สามารถแทนเป็นรหัสได้ดังนี้
สัญลักษณ์
เลขฐานสิบ
เลขฐานสอง
เลขฐานสิบหก
A
65
100 0001
4 1

รหัส ASCII สามารถใช้แทนข้อมูลอักขระและคำสั่งได้มากขึ้น และมีการขยายเป็นรหัสแบบ 8 บิท

ตารางรหัส ASCII แทนตัวอักษร


Unicode

        ยูนิโค๊ด คือ รหัสคอมพิวเตอร์ใช้แทนตัวอักขระ สามารถใช้แทน ตัวอักษร,ตัวเลข,สัญลักษณ์ต่างๆ ได้มากกว่ารหัสแบบเก่าอย่าง  ASCII ซึ่งเก็บตัวอักษรได้สูงสุดเพียง 256 ตัว(รูปแบบ) โดยUnicdoe รุ่นปัจจุบันสามารถเก็บตัวอักษรได้ถึง 34,168 ตัวจากภาษาทั้งหมดทั่วโลก 24 ภาษา โดยไม่สนใจว่าเป็นแพลตฟอร์มใด ไม่ขึ้นกับโปรแกรมใด หรือภาษาใด unicode ได้ถูกนำไปใช้โดยผู้นำในอุตสาหกรรม 
เช่น Apple, HP, IBM, Microsoft, Unix ฯลฯ และเป็นแนวทางอย่างเป็นทางการในการทำ ISO /IEC 10646 ดังนั้น Unicode จึงถือเป็นมาตรฐานในการกำหนดรหัส สำหรับทุกตัวอักษร ทุกอักขระ  unicode ทำให้ข้อมูลสามารถเคลื่อนย้ายไปมาในหลายๆ ระบบ ข้ามแพลตฟอร์มไปมา หรือข้ามโปรแกรมได้อย่างสะดวก โดยไร้ข้อจำกัด Unicode ต่างจาก ASCII คือ ASCII เก็บ byte เดียว แต่Unicode เก็บ 2 byte ซึ่งข้อมูล 2 byte เก็บข้อมูลได้มากมายมหาศาล สามารถเก็บข้อมูลได้มากมายหลายภาษาในโลก 
อย่างภาษาไทยก็อยู่ใน Unicode นี้ด้วยเหมือนกัน ดังนั้นรหัสภาษาไทยเอาไปเปิดในภาษาจีน ก็ยังเป็นภาษาไทยอยู่ ไม่ออกมาเป็นภาษาจีน เพราะว่ามี code ตายตัวอยู่ว่า code นี้จองไว้สำหรับภาษาไทย แล้ว code ตรงช่วงนั้นเป็นภาษาจีน ตรงโน่นเป็นภาษาญี่ปุ่น จะไม่ใช้ที่ซ้ำกัน เป็นต้น



SAYUMPHOOL CHAILANGKA
01010011 01000001 01011001 01010101 01001101 01010000 1011000 01001111 01001111 01001100 01000000 01000011 01011000 01000011 01011000 01000001 01001001 01001100 01000001 01001110 01000111 01001011 01000001

ใช้พื้นที่จัดเก็บจำนวน 184 bit 20 byte




วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์

ยุคของคอมพิวเตอร์ สามารถแบ่งได้เป็น 5 ยุค ดังนี้ คือ
คอมพิวเตอร์ยุคที่ 1อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2488 ถึง พ.ศ. 2501 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้หลอดสุญญากาศซึ่งใช้กำลังไฟฟ้าสูง จึงมีปัญหาเรื่องความร้อนและไส้หลอดขาดบ่อย ถึงแม้จะมีระบบระบายความร้อนที่ดีมาก การสั่งงานใช้ภาษาเครื่องซึ่งเป็นรหัสตัวเลขที่ยุ่งยากซับซ้อน เครื่องคอมพิวเตอร์ของยุคนี้มีขนาดใหญ่โต เช่น มาร์ค วัน (MARK I), อีนิแอค (ENIAC), ยูนิแวค (UNIVAC)

 

คอมพิวเตอร์ยุคที่  2
คอมพิวเตอร์ยุคที่สอง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2502 ถึง พ.ศ. 2506 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้ทรานซิสเตอร์ โดยมีแกนเฟอร์ไรท์เป็นหน่วยความจำ มีอุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรองในรูปของสื่อบันทึกแม่เหล็ก เช่น จานแม่เหล็ก ส่วนทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีการพัฒนาดีขึ้น โดยสามารถเขียนโปรแกรมด้วยภาษาระดับสูงซึ่งเป็นภาษาที่เขียนเป็นประโยคที่คนสามารถเข้าใจได้ เช่น ภาษาฟอร์แทน ภาษาโคบอล เป็นต้น ภาษาระดับสูงนี้ได้มีการพัฒนาและใช้งานมาจนถึงปัจจุบัน


คอมพิวเตอร์ยุคที่  3คอมพิวเตอร์ยุคที่สาม อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2507 ถึง พ.ศ. 2512 เป็นคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวม (Integrated Circuit : IC) โดยวงจรรวมแต่ละตัวจะมีทรานซิสเตอร์บรรจุอยู่ภายในมากมายทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์จะออกแบบซับซ้อนมากขึ้น และสามารถสร้างเป็นโปรแกรมย่อย  ในการกำหนดชุดคำสั่งต่าง ๆ ทางด้านซอฟต์แวร์ก็มีระบบควบคุมที่มีความสามารถสูงทั้งในรูประบบแบ่งเวลาการทำงานให้กับงานหลาย ๆ อย่าง


คอมพิวเตอร์ยุคที่  4
  คอมพิวเตอร์ยุคที่สี่ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513 จนถึงปัจจุบัน เป็นยุคของคอมพิวเตอร์ที่ใช้วงจรรวมความจุสูงมาก(Very Large Scale Integration : VLSI) เช่น ไมโครโพรเซสเซอร์ที่บรรจุทรานซิสเตอร์นับหมื่นนับแสนตัว ทำให้ขนาดเครื่องคอมพิวเตอร์มีขนาดเล็กลงสามารถตั้งบนโต๊ะในสำนักงานหรือพกพาเหมือนกระเป๋าหิ้วไปในที่ต่าง ๆ ได้ ขณะเดียวกันระบบซอฟต์แวร์ก็ได้พัฒนาขีดความสามารถสูงขึ้นมาก มีโปรแกรมสำเร็จให้เลือกใช้กันมากทำให้เกิดความสะดวกในการใช้งานอย่างกว้างขวาง

คอมพิวเตอร์ยุคที่  5
 
คอมพิวเตอร์ยุคที่ห้า เป็นคอมพิวเตอร์ที่มนุษย์พยายามนำมาเพื่อช่วยในการตัดสินใจและแก้ปัญหาให้ดียิ่งขึ้น โดยจะมีการเก็บความรอบรู้ต่าง ๆ เข้าไว้ในเครื่อง สามารถเรียกค้นและดึงความรู้ที่สะสมไว้มาใช้งานให้เป็นประโยชน์ คอมพิวเตอร์ยุคนี้เป็นผลจากวิชาการด้านปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : AI) ประเทศต่างๆ ทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และประเทศในทวีปยุโรปกำลังสนใจค้นคว้าและพัฒนาทางด้านนี้กันอย่างจริงจัง